เกษตรนาแปลงใหญ่

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับระบบเกษตรนาแปลงใหญ่

ข้อมูลเกษตรนาแปลงใหญ่

ข้อมูลเกษตรนาแปลงใหญ่


ข้อมูลเกษตรนาแปลงใหญ่


ข้อมูลการติดตามพื้นที่ปลูกข้าวและคาดการณ์ผลผลิต


ข้อมูลสำหรับผู้ดูแลระบบ


ข้อมูลผลผลิตข้าว









ประวัติความเป็นมา

ความเป็นมาของโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่

    กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้กำหนดแนวทางการพัฒนาโดยมีโครงการสำคัญคือ การปรับโครงสร้างการผลิตสินค้าเกษตรให้ความสำคัญในเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ได้แก่ ลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่ พัฒนาคุณภาพมาตรฐานตรงตามความต้องการของตลาด การรวมกลุ่มการผลิต มีการบริหารจัดการร่วมกันและสร้างเครือข่ายที่มีการเชื่อมโยงและเกื้อกูลกัน ภายใต้การสนับสนุนของทุกหน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันสินค้าเกษตรและเพิ่มรายได้ของเกษตรกรตลอดจนพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกร โดยจัดทำโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ที่มีเกษตรกรเป็นศูนย์กลางผลักดันให้เกษตรกรรวมกลุ่มและมีการบริหารจัดการร่วมกัน เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรตลอดจนด้านการตลาดตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีของรัฐบาล



ที่มา https://alro.go.th/tech_trans/ewt_dl_link.php?nid=609

ความสำคัญและที่มาของปัญหาที่การทำวิจัย

    ข้าวเป็นสินค้าเกษตรที่มีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจประเทศ เนื่องจากสามารถสร้างรายได้เข้าประเทศมูลค่ามหาศาลเป็นเวลาต่อเนื่องจากอดีตจนถึงปัจจุบัน โดยประเทศไทยถือเป็นผู้ผลิตข้าวรายใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก เห็นได้จากปริมาณผลผลิตข้าวเปลือกของไทยโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 30 – 31 ล้านตันต่อปี หรือประมาณ 20 ล้านตันข้าวสารต่อปี ซึ่งผลผลิตร้อยละ 55 ถูกใช้สำหรับบริโภคในประเทศ ที่เหลือจึงส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศที่ผ่านมาประเทศไทยสามารถส่งออกข้าวเป็นอันดับหนึ่งของโลกมาโดยตลอด คือ มีปริมาณเฉลี่ยปีละ 8-9 ล้านตันข้าวสาร จากปริมาณค้าข้าวโลกเฉลี่ยปีละ 27 ล้านตันข้าวสาร แต่ด้วยการแข่งขันที่รุนแรงในตลาดส่งออกข้าวทำให้ประเทศไทยตกอันดับมาอยู่ที่ 3 ในปี พ.ศ.2555 โดยมีคู่แข่งที่สำคัญคือ ประเทศเวียดนามและอินเดีย เนื่องจากต้นทุนการผลิตข้าวของประเทศคู่แข่งต่ำกว่าประเทศไทยค่อนข้างมาก

    ปัจจุบันเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เนื่องจากได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคมอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องส่งผลให้สามารถติดต่อสื่อสารระหว่างกันได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น โดยเฉพาะการติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (รัตนา ลีรุ่งนาวารัตน์, 2560) และการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศที่ผสมผสานเทคโนโลยีสารสนเทศและการทำงานของพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้เกิดบริการแก่ประชาชนได้อย่างรวดเร็ว สามารถเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการทำงานได้ครบถ้วน บันทึกข้อมูลเอาไว้อย่างเป็นระบบเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานนำข้อมูลมาใช้ในการทำงานได้สะดวก และมีการนำข้อมูลมาประมวลเป็นสารสนเทศเพื่อให้ผู้บริหารใช้ในการตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว (ครรชิต มาลัยวงศ์, 2544) ทำให้สามารถนำมาใช้ในการพยากรณ์ผลผลิตและลดต้นทุนการผลิตได้

    ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้มีแนวความคิดในการพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับเกษตรกรรมแปลงใหญ่ในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย เพื่อช่วยสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับสถานะการณ์การเพาะปลูก การตลาดและการใช้เทคโนโลยีของการปลูกข้าวในปัจจุบัน

วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย

1.เพื่อพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับสถานะการณ์การเพาะปลูก การตลาดและการใช้เทคโนโลยีของการปลูกข้าวในปัจจุบัน
2.เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับเกษตรกรรมแปลงใหญ่ในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย

ขอบเขต

1.ขอบเขตด้านพื้นที่: การวิจัยครั้งนี้ให้ความสนใจกับพื้นที่การเกษตรในเขตภาคเหนือตอนบนโดยมุ่งเน้นจังหวัดที่มีศักยภาพด้านขนาดของพื้นที่ในการปลูกข้าวและมีสัดส่วนเนื้อที่ความเหมาะสมต่อการปลูกข้าว ประกอบกับการมีกลุ่มเกษตรกรตัวอย่างที่เข้าร่วมโครงการนาแปลงใหญ่ ซึ่งตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวนี้ทำให้ได้พื้นที่ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ พื้นที่ในจังหวัดพะเยาและเชียงราย โดยเกษตรกรกลุ่มตัวอย่างต้องมีความพร้อมในการให้ความร่วมมือเพื่อการศึกษาตามวัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย นอกจากนี้พื้นที่ศึกษานั้นต้องมีอาณาเขตที่ใกล้เคียงกันในระหว่างหมู่บ้าน ตำบลหรือเป็นไปตามข้อกำหนดของแนวทางนาแปลงใหญ่ เพื่อประโยชน์ต่อการวางแผนการใช้พื้นที่ในทางปฏิบัติ
2.ขอบเขตด้านชนิดของพืชจากการคำนึงถึงศักยภาพของพื้นที่: ความเชี่ยวชาญของเกษตรกรเทคโนโลยีของหน่วยงานรัฐบาลที่ให้การส่งเสริมและความต้องการของตลาดการศึกษาครั้งนี้จึงพิจารณาพืชในกลุ่มข้าวดังต่อไปนี้ กลุ่มข้าวเจ้า คือ ข้าวกข15 ข้าวหอมมะลิ กลุ่มข้าวเหนียว คือ กข6และกข10 นอกจากนี้เพื่อการสร้างแบบจำลองที่คลอบคลุมถึงรูปแบบการปลูกพืชแบบหมุนเวียน เพราะฉะนั้นจึงพิจารณาพืชทางเลือกอื่นๆ ซึ่งอาจจะเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญทั้งที่มีปลูกอยู่แล้วในพื้นที่และพืชที่มีความเหมาะสมตามคุณภาพของดินซึ่งมีส่วนช่วยเกื้อหนุนต่อผลิตภาพการปลูกข้าวตามคำแนะนำของรัฐบาล ตัวอย่างเช่น พืชตระกูลถั่ว เป็นต้น

ขั้นตอนเป็นนาแปลงใหญ่

หลักการของแปลงใหญ่ มีดังนี้
1. ง่ายต่อการเข้าถึง รวมตัวกันได้ จับเป็นกลุ่มผลผลิตเกษตรชนิดเดียวกัน ดำเนินการได้ทันที
2. ขนาดพื้นที่เหมาะสม ม่จำกัดขนาดและจำนวนเกษตรกรที่เข้าร่วม
3. พัฒนาให้ถึงเป้าหมาย คือ ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ขยายโอกาส
4. พื้นที่ไม่เหมาะสมตาม Agri Map สามารถรวมเป็นแปลงใหญ่ได้และใช้เทคโนโลยีเข้าไปปรับพื้นที่ให้เหมาะสม
5. ยกระดับมาตรฐานผลผลิต เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้สูงขึ้น
6. แหล่งน้ำ ตามความจำเป็นหรือความเหมาะสม
7. กระบวนการกลุ่ม คือ กลุ่มเดิม(สหกรณ์/วิสาหกิจชุมชน)กลุ่มย่อยทำแปลงใหญ่ได้ กรณีไม่มีกลุ่มจะต้องมีการพัฒนาให้เกิดกลุ่มที่มีความเข้มแข็ง
8. Economy of scale ตัดสินด้วยเกณฑ์ของแหล่งทุน ขึ้นกับกิจกรรมที่กลุ่มขอรับการสนับสนุน
9. ความสมัครใจเป็นสมาชิกกลุ่มแปลงใหญ่ และดำเนินการภายใต้หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และเป้าหมายของแปลงใหญ่

ที่มา : นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร, เข้าถึง : 20 มี.ค. 2562
http://www.komchadluek.net/news/agricultural/256821


ที่มา https://www.opsmoac.go.th/chachoengsao-news-preview-391291791916






ที่อยู่


มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 63 หมู่4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290

โทรสาร


0-5387-3015

โทรศัพท์


0-5387-3000